จะสร้างความสุขให้ชีวิตอย่างไร บทที่ 9

คราวนี้ก็มาถึงบทที่9ของแนวคิดคำสอนของท่านจี้กง เรื่อง จะสร้างความสุขให้ชีวิตอย่างไร แล้วนะครับ ซึ่งในบทนี้อาจจะยาวไปนิดนึง แต่ถ้าอ่านแล้วท่านจะได้แนวคิดในการใช้ชีวิตที่ดีแน่นอนครับ เรามาดูกันครับ ว่าแนวคิดคำสอนของท่านจี้กงจะเกี่ยวกับเรื่องใด


ข้อ ๙.ความสุขคือความสวยงามที่รับรู้ได้
ความสุขคือความสวยงามที่รับรู้ได้
มีความรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้สิ่งที่เจ้าได้รับนั้น ทุกอย่างล้วนมีความดีงามทั้งนั้น ต้องมีความสุขบริสุทธ์ิเสมอ ความรู้สึกของความสวย งามนั้นก็คือ ฉันสุขบริสุทธ์ิเสมอ เสมอแท้จริง คือรักษาจิตใจไว้ ไม่แปรเปลี่ยนสุข คือ รักษาความสุขสบายใจสิ่งแวดล้อมจะดีหรือ เลวก็ดีทั้งนั้น กินดีก็ดี กินไม่ดีก็ดี หรือเกิดโรคภัยไข้เจ็บก็ดี ล้วนรักษาความสุขกายสุขใจไว้เสมอ

กายสังขารของเราเป็นของปลอม กายปลอมเรานั้นให้เรา รับรู้ว่าเป็นเครื่องหมายรับรู้สิ่งภายนอก ทำให้เรามีความรู้สึก ฉะนั้นการบำเพ็ญธรรมของเรา คือ ว่าด้วยระดับของจิตอยู่นอก เหนือความรู้ทุกอย่าง ผู้บำเพ็ญที่รู้แจ้งแล้ว เขาจะไม่เกิดความ คิดใดๆ อย่างง่ายๆ ผู้ที่มีจิตใจชอบฟุ้งซ่าน จะสอนให้เขาทำใจให้สงบนั้น เขาทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางด้านฟิสิกส์นั้น กล่าวว่า สิ่งที่ไหวติงนั้นไหวตลอด สิ่งที่นิ่งก็นิ่งตลอด กายปลอมความรับรู้ เครื่องหมายปลอมจากภายนอกทางปรัชญา กล่าวว่า วัตถุนิยมเห็นความสำคัญของการแยกแยะวิเคราะห์จิตนิยม วิเคราะห์ทางจิตใจ ว่าด้วยจิตว่าด้วยวัตถุ จิตกับวัตถุรวมเป็นหนึ่ง ว่าด้วยไม่ใช่ จิตไม่ใช่วัตถุล้วนปฏิเสธหมด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสภาพของความ รู้สึกนึกคิด การบำเพ็ญธรรมะ ล้วนอยู่นอกเหนือทฤษฎีเหล่านี้ ใช้สติปัญญาไปครอบงำ ควบคุมความรู้สึกนึกคิดของเจ้า

ความรู้สึกนึกคิดไปควบคุมอารมณ์ของเจ้า
ความรู้สึกนึกคิดไปควบคุมอารมณ์ของเจ้า อารมณ์ก็จะทำ ให้เจ้ากลับไปกลับมาไร้หลัก เพราะฉะนั้น อารมณ์ความรู้สึก จะต้องอยู่เหนือหลักเหตุผล หลักเหตุผลจะต้องตั้งอยู่เหนือจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้จะต้องอยู่เหนือความว่าง ตัวของความว่างเองนั้น ล้วนสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา สติปัญญาก็คือ ตัวจริงของเรานั่นเอง จะมองทะลุความเป็นอนิจจังทั้งหมดได้ จึงจะสามารถสงบอย่างธรรมชาติ ทุกเวลานาทีจะรักษาอยู่แต่ในแดนแห่งความสงบสุข   การบำเพ็ญธรรมก็คือ การดัดจิตใจที่คดงอนั้นให้ตรงความรู้สึกนึกคิดนั้น ได้ทำให้จิตเดิมแท้ของเราคดงอไป การบำเพ็ญก็คือ เอาความว่างหรือจิตว่างนั้น เอ็กซเรย์ความรู้สึกนึก คิดเบนให้ความรู้สึกนึกคิดนั้นให้ตรงอยู่ เพราะฉะนั้นทุกเวลา ให้ใช้จิตที่รู้แจ้งแล้ว ไปจัดการเรื่องราวต่างๆ อย่าใช้อารมณ์เข้าใจไหม?

หวังให้ทุกคนมีความสุข ความสุขนั้นต้องสร้างจากความรู้สึกทางใจ สุขภาพจิตไม่ดีความสุขก็ไม่รู้จะมีได้อย่างไรจะสร้าง สรรค์จิตใจได้อย่างไร? มีแต่ควบคุมปกครองอวัยวะความรู้สึก ดับตัณหาตัวเอง อย่าให้อวัยวะความรู้สึกลากพาเอาความรู้สึก นึกคิดของเราไปหลงทิศทาง ทุกเวลาต้องรักษาสภาพจิตใจให้ใส บริสุทธ์ิเสมอ ความสุขก็จะอยู่ข้างกายเราทันที แต่ละคนล้วนสามารถสร้างหลักธรรมแห่งความสุข ไม่ใช่พระพุทธะมาสร้างให้เรา ไม่ใช่ใครๆ มาประทานให้เรา ไม่ใช่ฟ้าโปรดประทานให้เรา คือ ตัวเราไปสร้างสรรค์เอง สมาชิกแต่ละคนไปใช้ความพยายาม ไม่ใช่คนรวยจึงมีความสุข ไม่ใช่คนมีความ รู้จึงจะมีคุณสมบัติมีสิทธิ์ โอกาสของแต่ละคนมีเท่าเทียมกัน ก็เหมือนกับการสำเร็จเป็นพุทธะโอกาสมีเท่าเทียมกัน

ท่านปราชญ์ขงจื่อ
ท่านเอวี๋ยนหุยมีข้าวสุกหนึ่งตะกร้า มีนํ้าดื่มหนึ่งกระบวย อยู่ในซอยสลัม ท่านก็สามารถมีชีวิตอยู่อย่างผาสุกได้ ปีติสุขต่อธรรมะ ชอบธรรมะ ท่านปราชญ์ขงจื่อ ทัศนาจรไปทั่วก๊กต่างๆ ถูกกดขี่ข่มเหงจากสภาพชั่วร้ายต่างๆ ท่านก็มีความสุขท่าม กลางสภาพเช่นนั้น เฉียนเหยินของเจ้าข้ามนํ้าข้ามทะเล ได้รับการเคี่ยวกรำ จากลมฝนความทุกข์ยากต่างๆท่านสามารถสำเร็จ มรรคผลพระโพธิสัตว์ นี่ก็อยู่ที่ใจปีติสุขต่อธรรมะ ชอบธรรมะ รู้ชีวิตเข้าใจชีวิต

วันนี้ มีความหวังให้แต่ละคนมีชีวิตอย่างมีความสุขกว่าและลํ้าเลิศกว่า ล้วนแสวงหาความสุข ปัญหาก็คือ แต่ละคนล้วน ได้รับความสุขหรือไม่? บางคนก็ได้รับคำตอบอย่างรวดเร็ว บางคนชั่วชีวิตก็ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ละคนล้วนคิดจะมีชีวิตอยู่ อย่างสุขภาพแข็งแรง แต่ว่าในใจมีโรคเต็มไปหมด โรคในใจไม่รักษาให้หมดไป ความสุขจะมีมาไม่ได้ ฉะนั้นแต่ละคนจึง ต้องรักษาความคิดจิตใจ ดำรงรักษาความคิดจิตใจของตนไว้ให้ดี หากจิตใจไม่เที่ยงตรง ต้องรีบแก้ไขทันทีการวิจัยรูป ลักษณ์ต้องเริ่มจากใจ ความทุกข์ในโลกนี้ ถ้าไม่ผ่านจากการบำเพ็ญ ก็ไม่มีทางจะวิจัยได้ รสชาติของความทุกข์ระทมขมขื่น ทั้งหมดใช้เคมีมาแยกแยะวิจัยความทุกข์กับความสุข เอาเคมีมาทำการวิจัยออกมา เจ้าก็ไม่สามารถสัมผัสได้ มีแต่ใช้รูปแบบการบำเพ็ญเริ่มจากในใจไปวิจัย จึงจะมีทางไปช่วยไปสัมผัส รับรู้ว่าอะไรคือ ทุกข์อะไรคือ สุขดีไหม?

เมื่อไรโลกจึงจะสันติสุข
แต่ละคนล้วนเหมือนกัน รับธรรมะบำเพ็ญธรรมะนานแล้ว นิสัยความเคยชินเลวไม่แก้ไข ก็ไม่สามารถบรรลุการตรัสรู้ เพราะฉะนั้น เจ้าถามอาจารย์ว่า เมื่อไรโลกจึงจะสันติสุข? เมื่อใดทุกคนสำเร็จเป็นพุทธะโลกก็จะสันติ ถ้ายังไม่สำเร็จเป็นพุทธะ ก็ยังจะมีความวุ่นวายแก่งแย่งกัน ที่ไหนมีคน ที่นั่นก็มี เรื่องมิดีมิชอบ มีเรื่องมิดีมิชอบจึงเป็นโลกโลกีย์มีแต่คนที่ชำระ จิตให้ผ่องแผ้วได้ ทุกคนก็เป็นพุทธะแล้ว โลกจึงจะเกิดสันติภาพถาวร ใจเป็นเมืองพุทธ และก็เป็นนรกในขณะที่มีความทุกข์กังวล จิตใจอกุศล โรคภัยไข้เจ็บรุมล้อมเต็มตัว กลัดกลุ้มสุมทรวง ใจก็จะมีการวาดภาพนรกปรากฏออกมา หากมีความสุขอยู่ตลอด เวลาวิมานสวรรค์? ก็จะอยู่ต่อหน้าเจ้า

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น